วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550

QC กับ QA

งาน QC/QA ซึ่งย่อมาจาก Quality Control/Quality Assurance แต่อย่าทำเลยค่ะ แย่งงานพวกวิทยาศาสตร์เคมีซะเปล่าๆ และถ้าใครเกลียดวิชาแล็ป ก็เลิกคิดเลยค่ะ เพราะงานนี้คุณต้องทำแล็ป และคุมแล็ปค่ะ

ทีนี้ ทำไมบางที่รับวิศวะเคมีไปทำงานนี้หล่ะ เพราะบางทีเมื่อเกิดปัญหาขึ้นในกระบวนการผลิต พวกเราจะสามารถเข้าใจและหา Assumption ในการเทสต์ได้ดีกว่าค่ะ

งาน QC นั้น โต้งๆ เลยว่าต้องเป็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับการเทสต์ผลแล็ป ประมวลผล แล้วก็แจ้ง condition ไปให้ ทาง Production ปรับจูน parameter ที่ควบคุมการผลิตให้ดีขึ้น

บางทีพวกที่ทำด้าน QC จะต้องทำระบบบริหารจัดการคุณภาพ หรือ ISO9000 ไปด้วยในตัว งานเอกสารสุดๆ

มาถึงงาน QA ส่วนมากงานนี้จะมีเฉพาะโรงงานที่ผลิต end product ส่งให้ user โดยตรง พวกนี้จะเป็นหน่วยรับคำบ่นจากลูกค้า ถ้าลูกค้ามี reject หรือ complain พวกนี้จะต้องมาหาสาเหตุว่าทำไม product ที่ผ่าน spec ซึ่งตรวจโดย QC ไปแล้วนั้น ไปเกิดปัญหาที่ลูกค้า

สรุปลักษณะคนที่จะมาเป็น QC/QA ได้
1. ต้องเป็นคนช่างสังเกตและตั้งสมมติฐานได้ดี
2. มีความสามารถในการประมวลผลสูง
3. ชอบงานละเอียด
4. ชอบงานเอกสาร
5. สามารถทำงาน routine ได้ดี
6. มีมนุษยสัมพันธ์ดีเลิศ
งาน Production กับ Process ต่างกันอย่างไรEmail this entry Print this entry
Oct 24 2006, 01:15 PM

ก่อนที่จะไปถึงงานตรวจสอบคุณภาพ เราจะมาพูดถึงงาน Production กับงาน Process อีกซักหน่อยนะ ว่ามีข้อดี ข้อด้อย ต่างกันอย่างไร

พี่เคยทำมาทั้งสองงานนะคะ ถือเป็นโชคดี เลยสามารถเปรียบเทียบกันได้
พี่ขอบอกว่าท้าทายกันคนละแบบ

ถ้าใครอยากได้ความตื่นเต้นถี่ๆ ก็ต้อง Production ค่ะ
ถ้าใครอยากได้ความตื่นเต้นตูมเดียวแต่ถึงจุดไปเลยเนี่ย ก็ต้อง Process ค่ะ

ถ้าใครอยากจะทำงานภายใต้ความกดดันอย่างสม่ำเสมอ ก็ต้อง Production ค่ะ
ถ้าใครอยากจะทำงานภายใต้ความกดดันเป็นช่วงๆ ก็ต้อง Process ค่ะ

ถ้าใครไม่ค่อยมีพื้นทางวิศวกรรม ก็ต้อง Production ค่ะ เพราะต้องมาเรียนกันใหม่หมดค่ะ แต่ละ plant ก็มีกระบวนการผลิตที่ไม่เหมือนกันค่ะ
ถ้าใครอยากจะทำงานด้านวิศวกรรม ก็ต้อง Process ค่ะ

ถ้าใครไม่ค่อยจะชอบงานเอกสาร ก็ต้อง Production ค่ะ
ถ้าไม่เกี่ยงงานเอกสาร ก็ต้อง Process ค่ะ

ถ้าอยากเป็นผู้นำคนอื่นๆ รักการแสดงออก ก็ต้อง Production ค่ะ
ถ้าเก็บตัวนิดๆ จมอยู่กับความคิดตัวเองเป็นครั้งคราว แต่สามารถเข้าสังคมได้ ก็ต้อง Process ค่ะ


QA และ QC ต่างกันอย่างไรครับ วานพี่ๆช่วยตอบหน่อย

ทราบว่า QC คือ Quality Control
ส่วน QA คือ Quality Assurance

อยากทราบว่าทั้งสองตัวนี้มีคำจำกัดความว่าอะไร และเกี่ยวข้องอย่างไรในระบบโรงงานครับ

และมีความสำคัญมากน้อยเพียงใดครับ

รบกวนตอบผมด้วยนะครับ อยากรู้จริงๆ

ปล..และอีกอย่างครับ 7 tools คืออะไรครับ เกี่ยวข้องอย่างไรกับระบบโรงงานครับ

ขอบคุณมากครับ
ก่อนเข้าถึงความหมายของ QC และ QA ขอทำความเข้าใจก่อนว่าในกระบวนการผลิตและการให้บริการในองค์กรใดๆก็ตาม จะต้องมีกิจกรรม คือ กระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องซึ่งเริ่มตั้งแต่การป้อน input คือปัจจัยต่างๆ เช่น วัตถุดิบ เข้าสู่กระบวนการ แล้วได้ output เช่น ผลิตภัณฑ์ หรือผลของการให้บริการ ออกมา เพื่อให้ได้ output ที่มีคุณภาพตามที่องค์กรกำหนดไว้ โดยมักจะขึ้นอยู่กับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน ความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า องค์กรจะต้องมีการควบคุมกระบวนการและตรวจสอบคุณภาพของ output ว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าไม่ก็ต้องกำหนดให้มีปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action, CA) เพื่อกำจัดข้อบกพร่องหรือสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดนั้น นี้คือ การควบคุมคุณภาพ (Quality Control, QC) แต่การควบคุมคุณภาพยังไม่สามารถกำจัดข้อบกพร่องได้หมด เพราะต้องรอให้เกิดข้อบกพร่องเกิดขึ้นเสียก่อนจึงจะกำจัดได้ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแก้ไข บางครั้งผลิตภัณฑ์นั้นอาจแก้ไขไม่ได้ด้วย จึงเป็นผลให้ต้องกำหนดปฏิบัติการป้องกัน (Preventtive Action, PA) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อบกพร่องหรือสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่เคยเกิดขึ้นไม่ให้เกิดซ้ำอีก หรือหากจะเกิดขึ้นจริงๆก็จะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก นี่คือ การประกันคุณภาพ (Quality Assurance, QA) ในปัจจุบันการประกันคุณภาพก็ไม่เพียงพอ เพราะยังต้องกำหนดปฏิบัติการปรับปรุง (Improvement Action, IA) เพื่อให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement) ด้วย เราเรียกว่า iระบบการบริหารคุณภาพ (Quality Management System)

ถ้าจะให้เห็นภาพอย่างชัดเจน ขอให้สร้างวงกลมขึ้นมา 1 วง ความหมายของพื้นที่ในวงกลมก็คือ กิจกรรมของกระบวนการผลิตและ/หรือการให้บริการ โดยมีลูกศรเข้าทางซ้ายเป็น input มีลูกศรออกด้านขวาเป็น output เหนือวงกลมจะเป็นกิจกรรมการตรวจสอบและปฏิบัติการแก้ไข แล้วเขียนวงกลมล้อมรอบทุกอย่างไว้ พื้นทีภายในวงกลมนี้จะมีความหมายถึง ระบบการควบคุมคุณภาพ (QC) คราวนี้ให้เขียนข้อความ ปฏิบัติการป้องกัน ไว้หนือวงกลมของ QC แล้วเขียนวงกลมล้อมรอบทุกอย่างไว้อีกครั้งหนึ่ง พื้นที่ภายในวงกลมนี้จะมีความหมายถึง ระบบการประกันคุณภาพ (QA) คราวนี้ให้เขียนข้อความ ปฏิบัติการปรับปรุง ไว้หนือวงกลมของ QA แล้วเขียนวงกลมล้อมรอบทุกอย่างไว้อีกครั้งหนึ่ง พื้นที่ภายในวงกลมนี้จะมีความหมายถึง ระบบการบริหารคุณภาพ (QMS) จากตรงนี้เราจะเห็นได้ว่า QC จะเป็นส่วนหนึ่งของ QA และเป็นส่วนหนึ่งของ QMS ครับ
ก่อนเข้าถึงความหมายของ QC และ QA ขอทำความเข้าใจก่อนว่าในกระบวนการผลิตและการให้บริการในองค์กรใดๆก็ตาม จะต้องมีกิจกรรม คือ กระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องซึ่งเริ่มตั้งแต่การป้อน input คือปัจจัยต่างๆ เช่น วัตถุดิบ เข้าสู่กระบวนการ แล้วได้ output เช่น ผลิตภัณฑ์ หรือผลของการให้บริการ ออกมา เพื่อให้ได้ output ที่มีคุณภาพตามที่องค์กรกำหนดไว้ โดยมักจะขึ้นอยู่กับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน ความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า องค์กรจะต้องมีการควบคุมกระบวนการและตรวจสอบคุณภาพของ output ว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าไม่ก็ต้องกำหนดให้มีปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action, CA) เพื่อกำจัดข้อบกพร่องหรือสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดนั้น นี้คือ การควบคุมคุณภาพ (Quality Control, QC) แต่การควบคุมคุณภาพยังไม่สามารถกำจัดข้อบกพร่องได้หมด เพราะต้องรอให้เกิดข้อบกพร่องเกิดขึ้นเสียก่อนจึงจะกำจัดได้ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแก้ไข บางครั้งผลิตภัณฑ์นั้นอาจแก้ไขไม่ได้ด้วย จึงเป็นผลให้ต้องกำหนดปฏิบัติการป้องกัน (Preventtive Action, PA) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อบกพร่องหรือสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่เคยเกิดขึ้นไม่ให้เกิดซ้ำอีก หรือหากจะเกิดขึ้นจริงๆก็จะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก นี่คือ การประกันคุณภาพ (Quality Assurance, QA) ในปัจจุบันการประกันคุณภาพก็ไม่เพียงพอ เพราะยังต้องกำหนดปฏิบัติการปรับปรุง (Improvement Action, IA) เพื่อให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement) ด้วย เราเรียกว่า iระบบการบริหารคุณภาพ (Quality Management System)

ถ้าจะให้เห็นภาพอย่างชัดเจน ขอให้สร้างวงกลมขึ้นมา 1 วง ความหมายของพื้นที่ในวงกลมก็คือ กิจกรรมของกระบวนการผลิตและ/หรือการให้บริการ โดยมีลูกศรเข้าทางซ้ายเป็น input มีลูกศรออกด้านขวาเป็น output เหนือวงกลมจะเป็นกิจกรรมการตรวจสอบและปฏิบัติการแก้ไข แล้วเขียนวงกลมล้อมรอบทุกอย่างไว้ พื้นทีภายในวงกลมนี้จะมีความหมายถึง ระบบการควบคุมคุณภาพ (QC) คราวนี้ให้เขียนข้อความ ปฏิบัติการป้องกัน ไว้หนือวงกลมของ QC แล้วเขียนวงกลมล้อมรอบทุกอย่างไว้อีกครั้งหนึ่ง พื้นที่ภายในวงกลมนี้จะมีความหมายถึง ระบบการประกันคุณภาพ (QA) คราวนี้ให้เขียนข้อความ ปฏิบัติการปรับปรุง ไว้หนือวงกลมของ QA แล้วเขียนวงกลมล้อมรอบทุกอย่างไว้อีกครั้งหนึ่ง พื้นที่ภายในวงกลมนี้จะมีความหมายถึง ระบบการบริหารคุณภาพ (QMS) จากตรงนี้เราจะเห็นได้ว่า QC จะเป็นส่วนหนึ่งของ QA และเป็นส่วนหนึ่งของ QMS ครับ
ปรับเปลี่ยน QC เป็น QA

หลักการของการประกันคุณภาพ (Quality Assurance) มีความแตกต่างไปจากการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) ในหลายๆด้านด้วยกัน เช่น บทบาทและความรับผิดชอบของฝ่ายผลิตที่มีต่อคุณภาพ, สิ่งที่จะถูกตรวจสอบ (การควบคุมกระบวนการ V.S.การควบคุมผลิตภัณฑ์), จุดของการตรวจสอบ, ช่วงเวลาของการตรวจสอบ, การปฏิบัติการแก้ไขกับการปฏิบัติการป้องกัน, ความพยายามของหน่วยงานที่ต้องมีส่วนร่วม, และปริมาณของข้อบกพร่องที่เกิด เป็นต้น

แม้ว่าจำนวนองค์กรในเมืองไทยจะผ่านการรับรองระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2000 เป็นจำนวนมากก็ตาม แต่มีอยู่ไม่มากที่มีการบริหารกระบวนการด้วยหลักการของ QA ทำให้มองเห็นภาพของความสูญเปล่าที่เกิดในประเทศไทยได้ไม่ยากว่า เรามีความสูญเปล่าเกิดขึ้นคิดเป็นมูลค่ามหาศาลแค่ไหนในแต่ละปี

แนวทางฝึกอบรมในหลักสูตรนี้จะเริ่มจากการสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นให้ได้ว่า ทำไมจึงต้องเปลี่ยนจาก QC เป็น QA, วิธีการแปลงเป็น QA, และการวัดผลสำเร็จของการใช้ QA
QC = Quality Control แปลว่า การควบคุมคุณภาพ เป็นการควบคุมกระบวนการผลิตหรือการให้บริการเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นไปตามข้อกำหนดขององค์กร ซึ่งรวมทั้งระบบการตรวจสอบ แก้ไข (Corrective Action) เมื่อพบว่าผลิตภัณฑ์ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด นั่นคือ ความเสียหายหรือปัญหาเกิดขึ้นแล้ว จึงค่อยแก้ไข QA = Quality Assurance แปลว่า การประกันคุณภาพ หรือ QM = Quality Management แปลว่า การบริหารคุณภาพ เป็นการประกันว่าระบบการผลิตหรือการให้บริการนั้นจะให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามข้อกำหนด ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ เอา QC มารวมกับกับระบบป้องกัน (Preventive Action) เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า จึงมีผลดีกว่า QC เพราะไม่ต้องรอให้ความเสียหายหรือปัญหาเกิดขึ้นก่อน ในปัจจุบันเราจึงนิยมใช้ระบบ QA มากกว่า QC ครับ
QC. ทำหน้าที่ในการตรวจสอบ และ ทำตัวเลขทางสถิติ ให้ฝ่ายบริหาร แต่ QA ้ต้องทำการวิเคราะห์ และ หามาตราการป้องกัน รวมถึง การวางแผน เพื่อรักษาระดับคุณภาพ ทั่วทั้งองค์กร

การบริหารความเสี่ยงกับการประกัน/พัฒนาคุณภาพ
การบริหารความเสี่ยงกับการประกัน/พัฒนาคุณภาพ เป็นระบบที่เสริมกันและกัน แม้ว่าจะมีขอบเขตไม่เหมือนกัน แต่ก็มีจุดร่วมอยู่ส่วนหนึ่งได้แก่
1. เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ติดตามระดับการเกิดปัญหา เช่น รายงานอุบัติการณ์
2. เน้นที่ความปลอดภัยของผู้ป่วย กลไกป้องกันอันตรายแก่ผู้ป่วย
3. คำนึงถึงคุณภาพ ความทันต่อเวลา ความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร
4. การสื่อสารและร่วมมือระหว่างกิจกรรมทางการบริหารและกิจกรรมทางคลินิก
5. เน้นการศึกษาต่อเนื่องของเจ้าหน้าที่
ความสำคัญของแต่ละระบบอาจจะเปลี่ยนแปลงไปในสถานการณ์แตกต่างกัน เนื่องจากมีเป้าหมายที่
แตกต่างกัน เป้าหมายของการประกัน/พัฒนาคุณภาพ คือการทบทวนตรวจสอบผลงานเพื่อรักษาระดับและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป้าหมายของการบริหารความเสี่ยงคือ การคุ้มครองป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ และผู้ป่วย การบริหารความเสี่ยงอาจจะไม่ทำให้เป็นเลิศ แต่ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา การประกัน/พัฒนาคุณภาพมุ่งที่จะปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง แต่เน้นที่ค่าใช้จ่ายหรือความเสี่ยงน้อยกว่า
เมื่อเปรียบเทียบกับการบริหารทรัพยากรบุคคล การประกัน/พัฒนาคุณภาพ จะคล้ายกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ส่วนการบริหารความเสี่ยงคือการดำเนินการ ทางวินัยเพื่อป้องกันความเสียหายไม่ให้มากขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ประพฤติตนมีปัญหาร้ายแรง

ไม่มีความคิดเห็น: